You are currently viewing การจำนองบ้าน ธนาคารกับบุคคล ต่างกันอย่างไร

การจำนองบ้าน ธนาคารกับบุคคล ต่างกันอย่างไร

ความแตกต่างระหว่าง จำนองบ้าน ธนาคารกับบุคคล

อธิบายหลักเกณฑ์และเงื่อนไข อย่างง่าย ระว่างการจำนองบ้านกับบุคคล  บริษัทเอกชน ธนาคาร

ข้อดีของการจำนองบ้าน กับบุคคล หรือ บริษัทเอกชน

  1. ใช้เวลาในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อรวดเร็วมากสำหรับ การจำนองกับบริษัทเอกชน หรือ กับบุคคลธรรมดา
  2. สามารถพิจารณาได้ทันทีทันใดภายใน 2-3 ชั่วโมง ถ้าเอกสารพร้อม สามารถนัดทำสัญญาได้เลย
  3. ไม่เช็คเครดิตบูโร ไม่ต้องมีคนค้ำ ไม่เช็คเอกสารทางการเงิน พิจารณาจากทรัพย์ที่มาฝากไว้ก็พอ
  4. อายุเยอะก็สามารถทำได้
  5. ปลอดภัยถูกกฎหมาย ทำสัญญา ณ กรมที่ดิน
  6. ทรัพย์ไหนธนาคารไม่อนุมัติแต่บริษัทเอกชนหรือบุคล ก็สามารถจำนองได้ (ขึ้นอยู่กับลักษณะทรัพย์นั้นๆ)

ข้อเสียของการจำนองบ้าน กับบุคคล หรือ บริษัทเอกชน

  1. ดอกเบี้ยจะสูงกว่าการจำนองบ้านกับธนาคาร
  2. ราคาวงเงินในการขอเสื่อเชื่อจะได้อยู่ที่ 30 % – 60% ของราคาประเมินตลาด

ข้อดีของการ จำนองบ้านกับธนาคาร

  1. ธนาคารจะให้วงเงินในของอนุมัติขอสินเชื่ออยู่ที่ 80%- 100% ของราคาประเมิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละสถาบัน
  2. ระยะเวลาการกู้สามารถกู้ได้นานกว่า 10 ปี
  3. ดอกเบี้ยจะขึ้นอยู่กับนโยบายดอกเบี้ยแต่ละช่วงเวลานั้น โดยจะอยู่ที่ 5% แต่จะไม่เกิน 10% ต่อปี

ข้อเสียของการ จำนองบ้านกับธนาคาร

  1. การจำนองบ้านกับธนาคารมักใช้เวลานานในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ
  2. ใช้เอกสารประกอบการพิจารณาอนุมัติเยอะ และมีการตรวจสอบเอกสารทางการเงิน
  3. อายุของผู้กู้ต้องอายุไม่เกิน 55 – 60 ปี
  4. ต้องตรวจสอบเครดิตบูโร
  5. ธนาคารอาจต้องมีผู้ค้ำประกัน
  6. ที่ดินเปล่าส่วนใหญ่ธนาคารจะไม่อนุมัติ

เอกสารที่ต้องใช้ในการจำนองบ้าน ที่ใช้ในการติดต่อสำนักงานที่ดิน

หลักฐานสำหรับบุคคล

  1. หลักฐานสำหรับที่ดินและห้องชุด

  2. โฉนดที่ดิน/น.ส.3ก

  3. หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด

  4. หลักฐานการได้มาซึ่งที่ดิน

     

หลักฐานสำหรับนิติบุคคล

  1. เอกสารก่อตั้งนิติบุคคล หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
  2. หนังสือบริคณห์สนธิ ข้อบังคับ วัตถุประสงค์
  3. หนังสือสำคัญการให้ทำการแทนนิติบุคคล
  4. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นหรือสมาชิก โดยแสดงสัญชาติและจำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นทุกคนที่นายทะเบียนสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทรับรองแล้วในปัจจุบัน
  5. บัตรประจำตัวของกรรมการหรือผู้แทนนิติบุคคล
  6. รายงานการประชุมของนิติบุคคล
  7. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนสามัญมีวัตถุประสงค์ซื้อที่ดินเพื่อประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยนิติบุคคลนั้นมีคนต่างด้าวถือหุ้นหรือเป็นกรรมการ
  8.  ผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยต้องแสดงหลักฐานการประกอบอาชีพรายได้ที่มาของเงินซึ่งนำมาซื้อหุ้น
  9.   กรณีนิติบุคคลซื้อที่ดินในราคาสูงกว่าทุนจดทะเบียนโดยไม่จำนองที่ดิน ต้องแสดงหลักฐานที่มาของเงินที่นำมาซื้อที่ดิน